วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คำถามอาเซี่ยน


อาเซียน
1.อาเซียนมีกี่ประเทศ


1. ข้อมูล ประเทศบรูไน (ฺBRUNEI)

ธงชาติประเทศบรูไน
2. ข้อมูล ประเทศกัมพูชา (CAMBODIA)

ธงชาติประเทศกัมพูชา

3. ข้อมูล ประเทศอินโดนีเซีย (ฺINDONESIA)

ธงชาติประเทศอินโดนีเซีย

4. ข้อมูล ประเทศลาว (ฺLAOS)

ธงชาติประเทศลาว

5. ข้อมูล ประเทศมาเลเซีย (ฺMALAYSIA)

ธงชาติประเทศมาเลเซีย

6. ข้อมูล ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (MYANMAR)

ธงชาติประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า

7. ข้อมูล ประเทศฟิลิปปินส์ (PHILIPPINES)

ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

8. ข้อมูล ประเทศสิงคโปร์ (SINGAPORE)

ธงชาติประเทศสิงคโปร์

9. ข้อมูล ประเทศเวียดนาม (VIETNAM)

ธงชาติประเทศเวียดนาม

10. ข้อมูล ประเทศไทย (THAILAND)

ธงชาติประเทศไทย


  อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง 
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ 
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน 
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

องค์ความรู้ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) 

ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ


2.อาเซียนมี่กี่ประเทศอะไรบ้าง


อาเซียน 10 ประเทศ
กลุ่มชาติสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ เรียงตามตัวอักษร มีดังนี้
1. ประเทศบรูไน (Brunei)
ประเทศบรูไนเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ภายหลังได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ
2. ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นลำดับสุดท้าย คือลำดับที่ 10 ทั้งๆที่ยื่นความจำนงค์เข้ามาพร้อมกับลาวและพม่า (ลำดับที่ 8 และ 9) แต่เนื่องจากความไม่สงบภายในประเทศ จึงต้องมีการเลื่อนการพิจารณาออกไป จนเมื่อเหตุการณ์สงบแล้ว กลุ่มอาเซียนจึงรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
3. ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนร่วมกับอีก 4 มิตรประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ภายหลังการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ
4. ประเทศลาว (Laos, PDR)
ประเทศ สปป.ลาว เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 8 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยเข้าเป็นประเทศอาเซียนพร้อมกับพม่า ลาวนับได้ว่าเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศเดียวที่ไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งและสำหรับการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในประเทศและส่งขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
ประเทศมาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
6. ประเทศพม่า หรือ เมียนมาร์ (Myanmar)
ประเทศพม่า เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 9 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (วันเดียวกับประเทศลาว)
7. ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ประเทศฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกหนึ่งสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
8. ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
9. ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย นอกจากจะเป็นสมาชิก 5 ชาติแรกและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนแล้ว ยังเป็นเจ้าภาพในการลงนามเพื่อสร้างข้อตกลงในการสร้างกลุ่มอาเซียนขึ้นมาด้วย โดยการลงนามนี้เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่พระราชวังสราญรมย์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ทั้งประเทศ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ากรุงเทพคือบ้านเกิดของอาเซียน
10. ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
ประเทศเวีดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538



อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ 

1. ไทย (2510) 
2. สิงคโปร์ (2510) 
3. อินโดเนเซีย (2510) 
4. มาเลเซีย (2510) 
5. ฟิลิปปินส์ (2510) 
6. บรูไน (2527)
7. เวียตนาม (2538) 
8. ลาว (2540) 
9. พม่า (2540)  
10. กัพูชา (2542)



ประเทศที่เข้าร่วมอาเซียน
ในสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของทุนนิยม ประเทศต่างๆ ไม่สามารถที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมโลก เนื่องจากประเทศต่างๆ นั้นมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจในประเทศของตัวก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเมื่อทำการรวมตัวกันแต่ละภูมิภาคของโลกแล้ว จะทำให้อำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถที่ใช้ในการแข่งขันกันระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์และการพัฒนาประเทศไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้น ประชาคมอาเซียน หรือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ทำข้อตกลงกันโดยการรวมตัวของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือใกล้เคียงให้เป็นประชาคมเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ประชาคมอาเซียนให้เสร็จภายในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ก่อนก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน ว่ามีประเทศอะไรบ้าง และความเป็นมาของการมารวมตัวกันจนเป็นกลุ่มประเทศอาเซียทั้ง 10 ในปัจจุบันนี้ โดยกลุ่มประเทศอาเซียนมีการก่อตั้งครั้งแรก วันที่ 8 ส.ค. 2510
      โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่

1.บรูไน
2.ไทย
3. กัมพูชา
4. สิงคโปร์
5.อินโดนีเซีย
6.เวียดนาม
7.ลาว
8.พม่า
9.ฟิลิปปินส์
10.มาเลเซีย

3.สัญลักษ์อาเซียนมีกี่สี

มี4สี
          สีน้ำเงิน 
          สีแดง 
          สีขาว 
          สีเหลือง


สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
    สีน้ำเงิน
    สีแดง
    สีขาว
    สีเหลือง

ที่มา www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/

สัญลักษณ์อาเซียน ได้รับการออกแบบให้เป็นรูปรวงข้าวสีเหลืองทองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้นที่มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมกันอยู่เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน โดยพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาวและน้ำเงิน แสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน วางอยู่ใต้รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งมวล ส่วนสีน้ำเงินในสัญลักษณ์อาเซียน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
มี4สี
          สีน้ำเงิน 
          สีแดง 
          สีขาว 
          สีเหลือง

4.เมืองหลวงของกัมพูชา    มีชื่อว่าอะไร   และระบบการปกครอง เป็นแบบใด 


พนมเปญ (เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ ออกเสียงว่า พนุมปึญ; อีกชื่อหนึ่งคือ ราชธานีพนมเปญ; อังกฤษ: Phnom Penh /pəˈnɔːm ˈpɛn/ หรือ /ˈnɒm ˈpɛn/) เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศ และจากต่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง] พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม[ต้องการอ้างอิง] และแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส และผู้คนมีอัธยาศัยดี[ต้องการอ้างอิง]
กรุงพนมเปญ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรถึง 2 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 15.2 ล้านคน
พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติย้ายราชธานีจากเมืองพระนครหนีสยามมาตั้งอยู่ที่นครวัดและสร้างพระราชวัง ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน ต่อมาภายหลังมีการสร้างเจดีย์ขึ้นซึ่งในขณะนั้นเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ จึงได้แต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศ
อย่างไรก็ตามสามปีก่อนตั้งกรุงพนมเปญเป็นราชธานี กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส
แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่
เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ






ประเทศกัมพูชา

ชื่อประเทศภาษาไทยกัมพูชา
ชื่อประเทศภาษาอังกฤษCambodia
ชื่อเต็มประเทศState Of Cambodia
ชื่อเมืองหลวงภาษาไทยพนมเปญ
ชื่อเมืองหลวงภาษาอังกฤษPhnom Penh
สกุลเงินภาษาไทยเรียลใหม่
สกุลเงินภาษาอังกฤษKampuchea Riel
คำย่อCamb.
ภาพธงชาติ
ดูคำอื่นๆในหมวดข้อมูลประเทศ
กัวเตมาลา
บราซิล
บรูไน
บอสเนีย และ เฮอร์เซโกวีน่า
บังคลาเทศ
บาร์เบโดส
บาห์เรน
บุลแกเรีย
บูรุนดี้
บ็อทสวาน่า



กรุงพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกัมพูชามีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือปราสาทหินนครวัดและนครธมในเมืองเสียมเรียบ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในอารยธรรมเขมรโบราณ ส่วนในกรุงพนมเปญซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้นเป็นศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรม และยังเป็นศูนย์ราชการของประเทศ มีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม

5.สีแต่ล่ะสีของสัญลักษณ์ตราอาเซียนมีความหมายว่าอะไร


ที่มา  www.kan1.go.th

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ที่มา  www.minprasatwitaya.ac.th/

ธงอาเซียน คืออะไร
ธงอาเซียน (ASEAN Flag) คือ สัญลักษณ์ของการรวมตัวกันของชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ภายใต้คำขวัญ “One Vision, One Identity, One Community” หรือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
รูปร่างลักษณะของธงอาเซียน
ธงอาเซียน ได้รับการออกแบบได้มีลักษณะเรียบง่าย แต่สามารถสื่อความหมายการรวมตัวกันของชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยธงอาเซียนนี้ ได้ถูกออกแบบให้มีพื้นสีน้ำเงิน มีต้นข้าวสีเหลืองทองจำนวน 10 ต้น (แทนความหมายของชาติสมาชิกทั้ง 10) อยู่ตรงกลาง ซึ่งต้นข้าวทั้ง 10 ต้นนี้อยู่ในวงกลมสีแดง และขอบของวงกลมสีขาว
ความหมายของสีต่างๆในธงอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ที่มา  www.kiriwong.ac.th/


ความหมายของสีต่างๆในธงอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

6.ภาษาของประเทศบรูไน ใช้ภาษาอไรบ้าง เป็นหลัก
ภาษาบรูไน (Melayu Brunei) หรือภาษามาเลย์สำเนียงบรูไน หรือภาษาโอรัง บูกิต มีผู้พูดทั้งหมด 266,000 คน. พบในบรูไน 215,000 คน (พ.ศ. 2527) ในบริเวณเมืองหลวงและตามแนวชายฝั่ง พบในประเทศมาเลเซีย 51,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือ บาลาอิตบนและบริเวณแม่น้ำตูเตาของรัฐซาราวัก และในรัฐซาบาห์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาเลย์อิก เป็นภาษาประจำชาติและภาษามาตรฐานของบรูไน ซึ่งแตกต่างไปจากภาษามาเลย์มาตรฐานของประเทศมาเลเซีย ใช้มากในบันดาร์เสรีเบกาวันและบริเวณใกล้เคียง และจะพูดภาษามาเลย์มาตรฐานได้ด้วย

ที่มา www.thai-aec.com


หมวดทักทาย
คำศัพท์ 
คำอ่าน 
สวัสดีซาลามัด ดาตัง 
อากาศดีจัง
สบายดีไหมอาปา กาบา 
พบกันใหม่เบอจัมปา ลากิ
ขอบคุณ เตริมา กะชิ 
นอนหลับฝันดี มิมปิ๊ มานิส
เชิญ เม็นเจ็มพุด
ไม่เป็นไร ทีแด๊ก อปาอาปา
ยินดีที่ได้รู้จักเจมบิรา ดาปัด เบอเตมู อันดา
ลาก่อนเซลามัต ติงกัล 
ใช่ ยา 
ไม่ใช่ ทีแด๊ก
อากาศร้อนมากซังกัด พานัส 
อากาศหนาวมาก คอค่า ยัง ซังกัด เซจุ๊ค